รับจัดพิธีสงฆ์

ปารมิตตา รับจัดพิธีสงฆ์

นิมนต์พระ+รถรับส่งพระ+พิธีกรนำกล่าวอาราธนา+โต๊ะหมู่+อาสนะ+อุปกรณ์พิธี+ชุดสังฆทาน+ดอกไม้+ภัตตาหารถวายพระ+อาหารรับแขก+เต้นท์+โต๊ะเก้าอี้+พัดลม ฯลฯ

 ปารมิตตา อำนวยการจัดงานทำบุญเลี้ยงพระ, ทำบุญขึ้นบ้านใหม่, ทำบุญบ้าน, ทำบุญบริษัท, ทำบุญวันเกิด, ทำบุญครบวาระต่างๆ, ทำบุญแต่งงาน ทำบุญบังสุกุลอุทิศกุศล  ด้วย 5 แพคเกจมงคลตามความเหมาะสม

แพคเกจ "รัชมงคล"   นิมนต์รับส่งพระ+ดำเนินพิธีการ+เครื่องใช้พิธี+ไทยธรรม 9+ผ้าไตร 1+อาหาร รายการ 50 ที่               27,999 บาท (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

 

 แพคเกจ "ชัยมงคล"  นิมนต์รับส่งพระ+ดำเนินพิธีการ+เครื่องใช้พิธี+ไทยธรรม 9+ผ้าไตร 1+อาหาร 5 รายการ 40 ที่            25,999 บาท (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

 

 แพคเกจ "มหาธรรมมงคล" นิมนต์รับส่งพระ+ดำเนินพิธีการ+เครื่องใช้พิธี+ไทยธรรม 9+อาหาร 5 รายการ 30 ที่        23,999 บาท (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

 

       แพคเกจ "ธรรมมงคล"  นิมนต์รับส่งพระ+ดำเนินพิธีการ+เครื่องใช้พิธี+ไทยธรรม 9                                                         19,999 บาท (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

 

           แพคเกจอาหารจัดเลี้ยง(บุฟเฟต์) เริ่มต้นที่ 30 ที่ พร้อมภาชนะจานชามช้อนส้อมพร้อมสรรพ

จองวันและสอบถามเพิ่มเติมที่ คุณฝน 083-8090999,  085-666-2288

 

แพคเกจ “รัชมงคล”  ราคา 27,999* บาท 

นิมนต์พระ, พิธีสงฆ์, โต๊ะหมู่, อาสนะ, อุปกรณ์ประกอบพิธี, พิธีกรดำเนินพิธี, ชุดไทยธรรม, ผ้าไตรเต็ม, ดอกไม้สด, อาหารบุฟเฟต์ 50 ที่พร้อมภาชนะ, รถรับส่งพระ

1.    ติดต่อวัดและนิมนต์คณะพระภิกษุสงฆ์ 9 รูป 

2.    ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

3.    ชุดอาสนะพระภิกษุสงฆ์ ลายพญานาคสีทอง จำนวน 9 ตัว

4.    เครื่องใช้และอุปกรณ์ประกอบพิธีสงฆ์ครบถ้วน

5.    พิธีกรดำเนินพิธีการสงฆ์ตั้งแต่ปฎิสันถารจนจบพิธีการ

6.    ชุดภาชนะและภัตตาหารถวายข้าวพระพุทธ 1 ชุด

7.    ชุดภาชนะและภัตตาหารแบบวงจำนวน 2 วง* สำหรับคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

8.    ชุดไทยธรรมถุงทองอุปโภคและบริโภคพร้อมพวงมาลัยดอกไม้สด ถวายคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

9.    ผ้าไตรเต็ม 1 ชุด ถวายประธานสงฆ์

10.  ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม สายสิญจน์ แป้งเจิมและแผ่นทอง

11. ข้าวหอมมะลิ+อาหารบุฟเฟต์  7 รายการ+ผลไม้ 2 ชนิด+ขนมหวาน 1 รายการ  พร้อมภัตตาหารสำหรับพระพุทธ 1 ที่, คณะพระภิกษุสงฆ์ 9 ที่ และแขกจำนวน 40 ที่ รวม 50 ที่

12.  เจ้าหน้าที่จัดเตรียมงานล่วงหน้า 1 วัน และพิธีกรดำเนินงานพิธี

13.  รวมค่ารถขนส่งอุปกรณ์และอาหาร

14.  รวมรถรับส่งคณะพระภิกษุสงฆ์*

* รวมค่ารับรถรับส่งพระในรัศมี 5 กม. ระหว่างสถานที่จัดงานและวัด  หรือ

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากเจ้าภาพรับส่งพระเอง

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากนิมนต์พระเพียง 5 รูป

* สามารถเปลี่ยนเป็นถวายแบบโตกได้ เพิ่มโตกละ 100 บาท

* ราคาแพคเกจนี้เป็นราคาเลี้ยงพระเพลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

(ชำระงวดแรกวันรับบรีฟ 5,000 บาท ส่วนที่เหลือชำระวันจัดงานเมื่อเสร็จพิธี)

ติดต่อคุณฝน 083-809-0999 , 085-666-2288

 

 แพคเกจ “ชัยมงคล”  ราคา 25,999* บาท

นิมนต์พระ, พิธีสงฆ์, โต๊ะหมู่, อาสนะ, อุปกรณ์ประกอบพิธี, พิธีกรดำเนินพิธี, ชุดไทยธรรม, ผ้าไตรเต็ม, ดอกไม้สด, อาหารบุฟเฟต์ 40 ที่พร้อมภาชนะ, รถรับส่งพระ

1.    ติดต่อวัดและนิมนต์คณะพระภิกษุสงฆ์ 9 รูป 

2.    ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

3.    ชุดอาสนะพระภิกษุสงฆ์ ลายพญานาคสีทอง จำนวน 9 ตัว

4.    เครื่องใช้และอุปกรณ์ประกอบพิธีสงฆ์ครบถ้วน

5.    พิธีกรดำเนินพิธีการสงฆ์ตั้งแต่ปฎิสันถารจนจบพิธีการ

6.    ชุดภาชนะและภัตตาหารถวายข้าวพระพุทธ 1 ชุด

7.    ชุดภาชนะและภัตตาหารแบบวงจำนวน 2 วง* สำหรับคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

8.    ชุดไทยธรรมถุงทองอุปโภคและบริโภคพร้อมพวงมาลัยดอกไม้สด ถวายคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

9.    ผ้าไตรเต็ม 1 ชุด ถวายประธานสงฆ์

10.  ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม สายสิญจน์ แป้งเจิมและแผ่นทอง

11.  ข้าวหอมมะลิ+อาหารบุฟเฟต์  5 รายการ+ผลไม้ 2 ชนิด+ขนมหวาน 1 รายการ  พร้อมภัตตาหารสำหรับพระพุทธ 1 ที่, คณะพระภิกษุสงฆ์ 9 ที่ และแขกจำนวน 30 ที่ รวม 40 ที่

12.  เจ้าหน้าที่จัดเตรียมงานล่วงหน้า 1 วัน และพิธีกรดำเนินงานพิธี

13.  รวมค่ารถขนส่งอุปกรณ์และอาหาร

14.  รวมรถรับส่งคณะพระภิกษุสงฆ์*

* รวมค่ารับส่งพระในรัศมี 5 กม. ระหว่างสถานที่จัดงานและวัด 

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากเจ้าภาพรับส่งพระเอง

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากนิมนต์พระเพียง 5 รูป

* สามารถเปลี่ยนเป็นแบบถวายโตกได้ เพิ่มโตกละ 100 บาท

* ราคาแพคเกจนี้เป็นราคาเลี้ยงพระเพลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

(ชำระงวดแรกวันรับบรีฟ 5,000 บาท ส่วนที่เหลือชำระวันจัดงานเมื่อเสร็จพิธี)

ติดต่อคุณฝน 083-809-0999 , 085-666-2288

 

 แพคเกจ “มหาธรรมมงคล”  ราคา 23,999* บาท

นิมนต์พระ, พิธีสงฆ์, โต๊ะหมู่, อาสนะ, อุปกรณ์ประกอบพิธี, พิธีกรดำเนินพิธี, ชุดไทยธรรม, ดอกไม้สด, อาหารบุฟเฟต์ 30 ที่พร้อมภาชนะ, รถรับส่งพระ

1.    ติดต่อวัดและนิมนต์คณะพระภิกษุสงฆ์ 9 รูป 

2.    ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

3.    ชุดอาสนะพระภิกษุสงฆ์ ลายพญานาคสีทอง จำนวน 9 ตัว

4.    เครื่องใช้และอุปกรณ์ประกอบพิธีสงฆ์ครบถ้วน

5.    พิธีกรดำเนินพิธีการสงฆ์ตั้งแต่ปฎิสันถารจนจบพิธีการ

6.    ชุดภาชนะและภัตตาหารถวายข้าวพระพุทธ 1 ชุด

7.    ชุดภาชนะและภัตตาหารแบบวงจำนวน 2 วง* สำหรับคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

8.    ชุดไทยธรรมถุงทองอุปโภคและบริโภคพร้อมพวงมาลัยดอกไม้สด ถวายคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

9.    ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม สายสิญจน์ แป้งเจิมและแผ่นทอง

10.  ข้าวหอมมะลิ+อาหารบุฟเฟต์  5 รายการ+ผลไม้ 2 ชนิด+ขนมหวาน 1 รายการ พร้อมภัตตาหารสำหรับพระพุทธ 1 ที่, คณะพระภิกษุสงฆ์ 10 ที่ และแขกจำนวน 20 ที่ รวม 30 ที่

11.  เจ้าหน้าที่จัดเตรียมงานล่วงหน้า 1 วัน และพิธีกรดำเนินงานพิธี

12.  รวมค่ารถขนส่งอุปกรณ์และอาหาร

13.  รวมรถรับส่งคณะพระภิกษุสงฆ์*

* รวมค่ารับส่งพระในรัศมี 5 กม. ระหว่างสถานที่จัดงานและวัด 

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากเจ้าภาพรับส่งพระเอง

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากนิมนต์พระเพียง 5 รูป

* สามารถเปลี่ยนเป็นแบบถวายโตกได้ เพิ่มโตกละ 100 บาท

* ราคาแพคเกจนี้เป็นราคาเลี้ยงพระเพลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

(ชำระงวดแรกวันรับบรีฟ 5,000 บาท ส่วนที่เหลือชำระวันจัดงานเมื่อเสร็จพิธี)

ติดต่อคุณฝน 083-809-0999 , 085-666-2288

 

แพคเกจ "ธรรมมงคล"  ราคา 19,999 บาท

นิมนต์พระ, พิธีสงฆ์, โต๊ะหมู่, อาสนะ, อุปกรณ์ประกอบพิธี, พิธีกร, ชุดไทยธรรม, ดอกไม้สด, รถรับส่งพระ

1.    ติดต่อวัดและนิมนต์คณะพระภิกษุสงฆ์ 9 รูป 

2.    ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

3.    ชุดอาสนะพระภิกษุสงฆ์ ลายพญานาคสีทอง จำนวน 9 ตัว

4.    เครื่องใช้และอุปกรณ์ประกอบพิธีสงฆ์ครบถ้วน

5.    พิธีกรดำเนินพิธีการสงฆ์ตั้งแต่ปฎิสันถารจนจบพิธีการ

6.    ชุดไทยธรรมถุงทองอุปโภคและบริโภคพร้อมพวงมาลัยดอกไม้สด ถวายคณะพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป

7.    ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม สายสิญจน์ แป้งเจิมและแผ่นทอง

8.    เจ้าหน้าที่จัดเตรียมงานล่วงหน้า 1 วัน และพิธีกรดำเนินงานพิธี

9.    รวมค่ารถขนส่งอุปกรณ์

10.  รวมรถรับส่งคณะพระภิกษุสงฆ์

 

* รวมค่ารับส่งพระในรัศมี 5 กม. ระหว่างสถานที่จัดงานและวัด หรือ

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากเจ้าภาพรับส่งพระเอง

* รับส่วนลด 1,000 บาท หากนิมนต์พระเพียง 5 รูป

 * ราคาแพคเกจนี้เป็นราคาจัดงานทำบุญเจริญพระพุทธมนต์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

(ชำระงวดแรกวันรับบรีฟ 5,000 บาท ส่วนที่เหลือชำระวันจัดงานเมื่อเสร็จพิธี)

ติดต่อคุณฝน 083-809-0999 , 085-666-2288

 

ทำไมต้องมีพิธีทำบุญบ้าน ทำบุญบริษัทฯ ทำบุญอุทิศกุศล ???

          การจัดพิธีทำบุญบ้านหรือทำบุญบริษัทฯ นอกเหนือเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาช้านานแล้วว่า ก่อนจะเข้าไปอยู่ ณ ที่ใด จำเป็นต้องทำการสักการะเจ้าที่เจ้าทางเพื่อความเป็นมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย แท้จริงแล้วการทำบุญเคหะสถานมีความมุ่งหมายสองประการคือ                                                                         

1.เพื่อเป็นความสิริมงคลของเคหะสถาน  ผู้อาศัย และผู้ทำงาน ณ. สถานที่แห่งนั้น  เนื่องจากวันทำบุญบ้าน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่หรือทำบุญบริษัทสำนักงาน ถือว่าเป็นวันที่เราได้มาอยู่เบื้องหน้าของพระรัตนตรัย โดยที่มีองค์พระพุทธปฏิมา เป็นตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ ที่มาจากเจริญพระพุทธมนต์นั้นก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือที่เราเรียกว่า พระธรรม นั่นเอง  ส่วนพระภิกษุที่มาในวันนั้น ก็เป็นตัวแทนของพระสงฆ์  นับว่ามีตัวแทนพระรัตนตรัยมาพร้อมมูลในที่นี้ 

พระรัตนตรัยนั้นเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของเราชาวพุทธ  แม้ในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือสำนักงาน เราก็มาอยู่กันพร้อมกันต่อหน้าพระรัตนตรัย ก็เพื่อเป็นเครื่องบำรุงน้ำใจของเราให้มีจิตใจที่ผ่องใส  เป็นการยกระดับจิตใจไว้ในที่สูง ซึ่งให้เกิดความเป็นสิริมงคลและเป็นนิมิตที่ดี คือให้เป็นการเริ่มต้นที่ดีงามในการที่เราจะเข้าไปอยู่ ณ.สถานที่แห่งนั้น  ขณะเดียวกันก็เป็นการ 

2.เอื้อเฟื้อบุญอันเกิดจากการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ให้แก่เทพเทวดาอารักษ์ เจ้าที่เจ้าทาง และสัมภเวสี ณ สถานที่นั้นๆ เพื่อให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้อยู่อย่างเป็นสุขให้เกื้อกูลไม่เบียดเบียน ช่วยปกป้องเภทภัยและหนุนนำความสำเร็จให้ผู้อยู่อาศัย

ทำบุญบ้าน และทำบุญอุทิศ

พ่อ แม่ ก็คือคนที่ควรบูชา อันเป็นอุดมมงคลของชีวิต  มงคลก็คือสิ่งที่ทำให้ชีวิตของเรามีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน  นี่เรียกว่าเราบูชาคุณของท่าน  สำหรับพ่อกับแม่ที่ยังมีชีวิต เราก็ได้เลี้ยงกาย เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ดูแลรักษา  ยามท่านจากไปเราได้เลี้ยงวิญญาณ  ดังนั้นขอเราได้พึงระลึกเสมอว่า การทำบุญที่ไหนก็แล้วแต่อย่าลืมพูดกับพระที่บ้านเสียก่อน คือ คุณพ่อ คุณแม่ ซึ่งเป็นพระประจำบ้านของเรา 

รีบเถอะครับทำบุญกับพ่อแม่   ดีแน่แท้ก่อนท่านตายกลายเป็นผี  ผลบุญการกตัญญูกตเวทีนั้นมากมี เหลือล้นพ้นประมาณ
ต่อให้ตักบาตรพระเป็นล้านครั้งสร้างโบสถ์หลังใหญ่โตมหาศาล  ผลบุญไม่เทียบเท่าข้าวหนึ่งจาน ที่เราท่านป้อนพ่อแม่ แค่ครั้งเดียว

วันนี้... หากยังได้กลับบ้าน ไปให้แม่เห็นหน้า ก็จงทำเสียเถิดครับ   อย่าคิดได้เพียงว่า เราจะต้องกลับไปเห็นหน้าแม่อย่างเดียวเท่านั้น
เพราะไม่แน่ว่า ตัวเราเอง..อาจจะไปก่อนท่านวันใดก็เป็นได้ทั้งนั้นหรือแม่ที่มองทางคอยลูกตลอดมานั้น อาจจะด่วนจากไปในวันใดก็ได้ ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไปชีวิตที่ยังต้องดิ้นรนเดินทางไปมาตลอดนั้นอาจให้มีเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดคิดมาก่อน ไม่มีอะไรมายืนยันว่าชาติหน้าเราจะได้เกิดเป็นคนอีกครั้งและจะได้เป็นลูกแม่คนนี้อีกหรือเปล่า แล้วจะได้ตอบแทนพระคุณท่านบ้างไหม

อย่ารอ..อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง  อย่าห่วงเฉพาะคนข้างตัวมากไปกว่าการให้ได้แค่เพียงคิดถึงต่อคนอุ้มท้องเรามาอย่ารอกลับบ้านในวันที่เสียงโทรศัพท์ที่มีเสียงร้องไห้ของญาติพี่น้องโทรมาจากบ้านเกิด เพื่อเรียกให้เราไปกอดร่างที่หันมามองเราไม่ได้อีกอย่ารอไปรดน้ำที่มือแม่ อย่ารอไปร้องไห้หน้าเมรุแล้วรำพันว่าแม่จ๋า..ลูกมาช้าเกินไป

ข้อแนะนำในการทำบุญบ้านและทำบุญบริษัท

อย่าเพิ่งทำบุญหากยังไม่ได้อ่าน...... ไม่ว่าท่านจะมีเหตุทำบุญเพราะเชื่อในซินแสหมอดู  หรือเชื่อในโชคลาง หรือทำเพราะเป็นประเพณี “อานิสงส์” ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาการทำบุญเลี้ยงพระในโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ ”อานิสงส์” ขอฝากข้อแนะนำที่ควรและไม่ควรปฏิบัติ เพื่อให้การทำบุญของท่านถูกต้องตามหลักพุทธพิธี ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา มีความเคารพในพระรัตนตรัย เป็นบัณฑิต เป็นผู้ไม่หลงงมงาย ได้รับคำชื่นชมจากพระสงฆ์ และได้รับอานิสงส์ผลบุญอย่างเต็มเปี่ยม และทีสำคัญได้ชื่อว่าเป็น "พุทธะ" คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง

1. เป้าหมายการทำบุญเคหะสถาน การทำบุญบ้านหรือบริษัทก็ตาม ไม่เพียงแต่เป็นประเพณีที่เป็นศิริมงคลแก่เจ้าภาพเท่านั้น หากเนื้อแท้ของการทำบุญคือการแสดงเคารพต่อพระรัตนตรัยอันเป็นที่เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด เพื่อให้การเริ่มต้นเข้าอยู่อาศัยหรือการเริ่มกิจการประสบแต่ความสุขความสำเร็จ อีกนัยหนึ่งของการทำบุญคือเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีอันดีกับเหล่าเทวดา สัมภเวสี ที่อาศัยอยู่ ณ สถานที่นั้นๆก่อนที่เราจะเข้าไปอยู่ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็น ต่างฝ่ายต่างให้คุณกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

2. มารยาทปฏิบัติต่อคณะพระภิกษุสงฆ์  มารยาทที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งคือกิริยาวาจาที่ปฏิบัติต่อพระ  แม้ว่าเจ้าภาพจะมีฐานะสังคมใหญ่โตหรือร่ำรวยเพียงใด เจ้าภาพต้องให้ความอ่อนน้อมมีสัมมาคารวะต่อพระเสมอ  (พึงดูพระจริยาวัตรอันงดงามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แม้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็ทรงให้ความเคารพอ่อนน้อมต่อสถาบันศาสนาและพระภิกษุสงฆ์) เจ้าภาพสามารถขอความเมตตาจากคณะพระภิกษุสงฆ์ให้เจริญพระพุทธมนต์ในบทหนึ่งบทใดเป็นพิเศษได้ แต่ไม่ใช่คาดคั้นหรือกดดันให้พระภิกษุสงฆ์ต้องมาตามฤกษ์หรือต้องสวดตามที่เจ้าภาพต้องการ หรือไม่ให้ความเคารพเกรงใจใช้ท่านให้เจิมทุกๆประตูในบ้าน (เว้นแต่ท่านจะเมตตาทำให้ด้วยความเต็มใจ)  เพราะพระทุกรูปต่างก็มีภารกิจที่ต้องปฏิบัติก่อนและหลังการจัดงานทำบุญ และแต่ละวัดก็อาจมีการลำดับเจริญพระพุทธมนต์ที่แตกต่างกันไป การสั่งพระให้ทำตามความต้องการของเจ้าภาพจึงเป็นการก้าวล่วงความเคารพในพระรัตนตรัย

3. การเลือกวัด ควรเลือกวัดที่อยู่ใกล้ที่จัดงานทำบุญ เพื่อแสดงความเคารพในบุญบารมีที่วัดนั้นๆแผ่คุ้มครองมายังบ้านที่เราอยู่อาศัย และเพื่อความสะดวกในการเดินทางของคณะพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะพระที่มีอายุมากจะได้ไม่ลำบากในการเดินทาง หรือพระที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานศาสนกิจ หรือการเรียนศึกษาปริยัติธรรม จะได้สามารถเดินทางกลับวัดทำได้ทัน

4. การเลือกวัน ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงสอนหลักเหตุและผลของกรรม ไม่ได้สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยาม กล่าวคือวันที่ทำความดีคือวันดี ดังนั้นการเลือกวันจึงควรเลือกวันที่ตัวเราและหมู่ญาติสามารถมาร่วมงานทำบุญได้พร้อมหน้าโดยสะดวก อาจเป็นวันธรรมดาหรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ได้ ที่สำคัญควรนิมนต์พระล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน

5. การเตรียมวันทำบุญ ควรเลือกวันเผื่อไว้อย่างน้อย 2 วัน ในกรณีที่วัดที่นิมนต์รับกิจนิมนต์เต็มแล้ว จะได้สามารถขยับไปยังวันที่ว่างแทนได้ เมื่อพระรับกิจนิมนต์แล้ว หากไม่สุดวิสัยจริงๆไม่ควรเลื่อนหรือยกเลิกท่าน

6. การนิมนต์พระ สามารถนิมนต์แบบเฉพาะเจาะจงพระ หรือไม่เฉพาะเจาะจง การถวายทานที่เฉพาะเจาะจงเรียกว่า”ปาฏิบุคลิกทาน” ส่วนการถวายทานที่ไม่เฉพาะเจาะจงเรียกว่า     ”สังฆทาน” พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการถวายทานแบบสังฆทานว่ามีอานิสงส์ผลบุญมากกว่าปาฏิบุคลิกทาน เพราะเป็นการทำทานที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อกว้างขวางกว่า

7. การถวายภัตตาหารเช้าหรือเพล เจ้าภาพทำบุญควรเลือกเวลาการถวายภัตตาหารให้เหมาะสมกับสถานที่และเวลาที่ใช้ในการเดินทางของพระ,เจ้าภาพและแขกร่วมงาน หากทำบุญถวายภัตตาหารเช้าควรเริ่มเวลาประมาณ 7.30 น. หรือหากเลือกถวายภัตตาหารเพลก็ควรเริ่มพิธีเวลาประมาณ 10.30 น. อย่างไรก็ตามเวลาก็อาจยืดหยุ่นตามการปฏิบัติศาสนกิจของพระวัดในวันนั้นๆได้ เช่นกิจบิณฑบาตในตอนเช้า กิจพิธีบรรพชาอุปสมบทในตอนสาย เป็นต้น

8จำนวนพระ โดยประเพณีนิยมคือ 5 หรือ 9 รูป หากสถานที่จัดงานทำบุญมีพื้นที่เพียงพอ ควรนิมนต์พระจำนวน 9 รูป

9. การจัดโต๊ะหมู่บูชาพร ควรอาราธนานำพระพุทธรูปที่มีอยู่แล้วที่บ้านหรือบริษัทมาเป็นประธานในการทำบุญ โดยวางบนชั้นสูงสุดและประดับด้วยดอกไม้เช่นดอกบัว เพื่อแสดงความเคารพในพระรัตนตรัย หากบ้านใดยังไม่มีพระพุทธรูปประจำบ้านก็ควรถือโอกาสในการทำบุญบ้านนี้ จัดหาพระพุทธรูป เพื่อนำมาประดิษฐานไว้เพื่อเป็นศูนย์รวมใจ

10. การจัดหาเสนาสนะ ควรจัดหาเสนาสนะที่เรียบร้อย สะอาด ประณีต สมฐานะ ในการต้อนรับพระ หากหยิบยืมจากวัดมาใช้ ก็ควรใช้ด้วยความระระวัง ไม่ทำของสงฆ์ชำรุดเสียหายจะได้ไม่เป็นหนี้สงฆ์ และควรทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนส่งคืนวัด

11. ทิศการตั้งโต๊ะหมู่และเสนาสนะในการทำบุญ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนว่าความเป็นมงคลมาจากการหันทิศใดๆ แต่ทรงสอนเรื่องทิศ 6 ว่าด้วยข้อธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนต่อบุคคลต่างๆรอบตัวเรา ดังนั้นการตั้งโต๊ะหมู่และเสนาสนะจึงควรพิจารณาจากความเหมาะสมของสถานที่มากกว่า เช่น ไม่ควรตั้งอยู่ใต้บันได เป็นต้นการทำบุญควรให้ทำด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ มิใช่ทำด้วยความหลงงมงาย

12. การเตรียมอุปกรณ์ทำบุญ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ครบถ้วน เช่น โต๊ะหมู่บูชา อาสนะพระ ตาลปัตร ขันน้ำมนต์ แป้งเจิม แผ่นทอง สายสิญจน์ เทียนน้ำมนต์ ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม เป็นต้น โดยจัดวางให้เป็นระเบียบถูกที่ถูกตำแหน่ง 

13. การจัดสถานที่ทำบุญ ก่อนวันจัดงานทำบุญควรทำความสะอาดบ้านหรือบริษัทให้สะอาด เก็บสิ่งของต่างๆให้เรียบร้อย ไม่ควรแขวนหรือวางรูปภาพคนหรือสัตว์อยู่เหนือศีรษะคณะพระภิกษุสงฆ์ในขณะนั่งบนเสนาสนะ (อนุโลมรูปวิวทิวทัศน์ที่เหมาะสม)

14. การแต่งกายในวันทำบุญ เจ้าภาพและแขกที่มางานทำบุญควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพ สุภาพสตรีไม่ควรนุ่งสั้น หรือเสื้อคอกว้าง ควรนุ่งกางเกงที่ลุกนั่งสะดวก

15. มารยาทในการไปร่วมงานทำบุญ การไปงานทำบุญคือการไปอนุโมทนาสนับสนุนยินดีการทำความดีทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของเจ้าภาพ ดังนั้นเมื่อไปงานจึงควรนำอาหารหรือปัจจัยไทยธรรมไปร่วมทำบุญถวายพระ อันจะเป็นกุศลต่อผู้ถวายเอง เจ้าของบ้านไม่ควรห้ามปรามหรือปฏิเสธแขกร่วมงาน หากแขกที่มาร่วมงานปรารถนาจะร่วมทำบุญด้วยใจที่บริสุทธิ์ ควรอนุโมทนาสนับสนุนให้ได้ถวายกับคณะพระภิกษุ

16. การปฏิบัติตนระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์ เมื่อคณะพระภิกษุสงฆ์เริ่มเจริญพระพุทธมนต์ให้งดการพูดคุย และควรปิดโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรมีเสียงใดๆรบกวนสมาธิพระ งดลุกจากที่นั่งหรือเดินไปเดินมา ให้ประนมมือหลับตาทำจิตใจให้สงบ สำรวมกายวาจาใจเพื่อรับความมงคลจากพระพุทธมนต์  หากมีเด็กเล็กควรควบคุมให้เรียบร้อยไม่ส่งเสียงดัง หากซุกซนมากไม่สามารถควบคุมได้ก็ควรนำออกไปก่อน

17. การเตรียมอาหารบูชาข้าวพระพุทธ ก่อนการการถวายภัตตาหารพระ ควรเตรียมข้าวอาหารหวานคาวและน้ำดื่ม จัดเป็นสำรับขนาดเดียวกับพระสงฆ์ฉัน วางไว้ด้านหน้าโต๊ะหมู่ให้เรียบร้อย

18. การกล่าวถวายภัตตาหาร ผู้เป็นประธานในพิธีหรือเจ้าภาพเลี้ยงพระควรเป็นผู้กล่าวคำถวายด้วยตนเอง เพราะการถวายคือการแสดงตนให้คณะพระภิกษุสงฆ์ตลอดจนเทวดาสัมภเวสีให้รับรู้และอนุโมทนาในผลบุญ และหากเป็นการถวายเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ ควรใช้คำกล่าวถวายเป็น “มตกภัตตาหาร” 

19. วิธีการประเคนถวายพระ หากเป็นสิ่งของที่สามารถยกได้ ให้ยกลอยจากพื้น ผู้ชายให้ยื่นถวายด้วยสองมือถวายส่งที่มือพระภิกษุ ส่วน ผู้หญิงให้วางบนผ้ารับประเคน  เมื่อประเคนอาหารพระแล้วให้ปล่อยมือออกไม่ไปจับแตะต้องอีก มิฉะนั้นจะกลายเป็นการขาดประเคน

20. การเตรียมภัตตาหารถวายพระ อาหารควรประกอบด้วยข้าว อาหารคาว ผลไม้ ของหวาน และน้ำดื่มที่สะอาดและประณีต ในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนที่เหลือเจ้าภาพและแขกสามารถรับประทานหลังพระฉันเสร็จแล้ว และไม่ควรรับประทานอาหารขณะพระกำลังเจริญพระพุทธมนต์ ควรรอส่งพระกลับก่อนจึงค่อยรับประทานอาหาร

21. การจัดของถวายสังฆทาน ควรถวายไทยธรรมที่ดีมีคุณภาพเท่านั้น ไม่ควรถวายด้วยถังสังฆทานที่ด้อยคุณภาพ ปริมาณที่ดูเหมือนมากไม่สำคัญเท่าคุณภาพของที่ถวายและเจตนาที่บริสุทธ์ของผู้ให้ สามารถถวายได้ทั้งอุปโภคและบริโภคพร้อมปัจจัยใส่ซองวางบนถาดที่ถวายสังฆทาน

22. อานิสงส์การถวายผ้าไตรเจ้าภาพสามารถถวายพระไตรในการประกอบงานทำบุญพร้อมๆกับการทำสังฆทาน อานิสงส์หลักสามประการจากการถวายผ้าไตรคือ ประการที่หนึ่ง พระภิกษุสงฆ์ดำรงอยู่ได้ด้วยผ้าไตร ผู้ถวายได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่ออายุพระพุทธศาสนา ประการที่สอง ผ้าไตรหมายถึงวรรณะ ผู้ถวายจึงได้อานิสงส์เป็นผู้มีชาติตระกูล มีวรรณะงดงามและมีสัมมาทิฐิ ประการที่สาม ผู้ถวายผ้าไตรด้วยดีแล้ว เมื่อปรารถนาบวช จะได้รับโอกาสการบวชได้โดยง่าย แม้เป็นหญิงก็ได้เป็นชายและได้บวชในภายภาคหน้า

23. การกล่าวคำอธิษฐานธรรม ก่อนถวายสังฆทาน โดยอริยะพิธีที่ถูกต้องแล้ว ควรกล่าวคำอธิษฐานก่อนทุกครั้ง อธิษฐานเป็นหนึ่งในบารมีสิบทัศ อันประกอบด้วย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญสั่งสมบุญสร้างบารมีข้ามภพข้ามชาติ การอธิษฐานธรรมหมายถึงการตั้งความปรารถนาที่เป็นกุศลให้สำเร็จด้วยอานุภาพผลบุญที่กระทำไว้ดีแล้ว

24. การทำบุญบังสุกุล สามารถทำได้ในวันเดียวกับการทำบุญเลี้ยงพระ โดยทำหลังคณะพระภิกษุฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว เป็นอีกหนึ่งพิธีทำบุญอุทิศกุศลเจาะจงไปยังผู้วายชนม์เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด บรรพบุรุษ และบุพการี เพื่อให้เป็นเสบียงบุญแก่ท่านในสัมปรายภพ สามารถทอดผ้าบังสุกุลวางลงบนภูษาโยงจากอัฐิหรือรูปภาพผู้วายชนม์ ก่อนทอดให้กล่าว นามะรูปัง อนิจจัง นามะรูปัง ทุกขัง นามะรุปัง อนัตตา แล้วทอดผ้าไตรขวางบนภูษาโยง ควรถวายด้วยผ้าไตรที่มีสีตรงกับการนุ่งห่มของวัดนั้นๆ

25. การกรวดน้ำอุทิศกุศล การกรวดน้ำเป็นการอุทิศกุศลไปยังบรรพบุรุษ บุพการี ครูอาจารย์ หมู่ญาติที่ล่วงลับ เจ้ากรรมนายเวร เทวดา สัมภเวสี สรรพสัตว์ สรรพชีวิตในทุกภพภูมิ เป็นต้น เวลากรวดน้ำจึงควรทำสมาธิส่งบุญไปยังบุคคลข้างต้น โดยเทน้ำให้หมดคนโทและประนมมือรับพรพระจนจบ แล้วจึงค่อยนำน้ำไปเทยังโคนต้นไม้ใหญ่เพื่ออุทิศบุญไปยังพระแม่ธรณีและทวยเทพเทวดา

26. การเจิมและการปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ เจ้าภาพกราบนิมนต์ประธานสงฆ์ไปยังที่ๆต้องการเจิม เช่น ประตูทางเข้าออกหลัก ควรทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบร้อยก่อนเจิม เมื่อท่านเจิมแล้วไม่ควรลบออก การปะพรมน้ำเจ้าภาพอาจนำท่านไปพรมตามห้องต่างๆได้ ในขณะพระสงฆ์พรมน้ำพุทธมนต์ ควรประนมมือรับน้ำพุทธมนต์ด้วยความเคารพอ่อนน้อม

27. การต้อนรับพระ เจ้าภาพควรแสดงความเคารพรอรับพระด้วยตนเอง เมื่อพระมาถึงให้กล่าวคำว่า”นมัสการครับ/เจ้าคะ” พร้อมกล่าวแนะนำตนเอง และกล่าวนิมนต์นำคณะพระภิกษุสงฆ์ไปยังเสนาสนะที่จัดไว้

28. การส่งพระ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เจ้าภาพกราบขอบพระคุณในความเมตตาที่ท่านได้มาเป็นเนื้อนาบุญ และนำส่งคณะพระภิกษุสงฆ์ไปยังรถ ควรช่วยท่านยกไทยธรรมที่ถวายสังฆทานแล้วไปยังรถ ให้ประนมมือส่งท่านขึ้นรถด้วยความอ่อนน้อมและรอจนกว่ารถจะเคลื่อนตัวออกไปแล้วจึงค่อยเข้าบ้าน

29. งดสุราและอบายมุข การทำบุญคือการนำความมงคลเข้าสู่บ้าน บุคคล และบริษัท ดังนั้นจึงควรงดการเลี้ยงสุรา เล่นการพนัน ในการทำบุญ อันเป็นอบายมุขสู่ความเสื่อม เพราะความเป็นมงคลมิได้เกิดจากการที่นิมนต์พระเจริญพระพุทธมนต์เท่านั้น แต่หากเกิดจากการที่เจ้าภาพกระทำในสิ่งที่เป็นมงคลคือ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ประกอบด้วยเป็นสำคัญ

30. การเชิญแขกร่วมงานทำบุญ ในกรณีที่เป็นการทำบุญบ้าน หากเจ้าภาพจัดงานได้แยกครอบครัวออกมาแล้ว บุคคลสำคัญที่ควรระลึกถึงและเชิญร่วมงานเป็นอันดับแรกคือ "พ่อและแม่" หากท่านมีชีวิตอยู่ ควรเชิญท่านได้ร่วมทำบุญ หากท่านไม่อยู่ ก็ควรทำบุญอุทิศกุศลแก่ท่าน เพราะความกตัญญูต่อพ่อแม่คือความเป็นสิริมงคลอันสูงสุด และยังความปลาบปลื้มให้ท่านได้เห็นความก้าวหน้าและความสำเร็จของเรา

การทำบุญเป็นเรื่องละเอียด ควรทำด้วยความใส่ใจและรอบคอบ ทั้งคำอาราธนาและคำกล่าวถวาย ต้องชัดเจนแม่นยำและครบถ้วน ดำเนินพิธีการทำบุญด้วยความสุภาพอ่อนน้อมเคารพในพระรัตนตรัย หากท่านปรารถนาการทำบุญที่ถูกต้องได้รับความสะดวกและเปี่ยมบุญ ประณีต ปลาบปลื้ม ประทับใจ.... “ปารมิตตา” ขอรับอาสาทำหน้าที่จัดงานทำบุญที่ได้มากกว่าประเพณีทำบุญ ให้เป็นบุญศักดิ์สิทธิ์

 

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ (ทำไมต้องทำ)

 การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จัดเป็นบุญพิธีที่มีมาแต่โบราณ และนิยมกระทำกันมาจนถึงในปัจจุบันนี้ รวมถึงการทำบุญเปิดสำนักงาน ห้างร้าน และบริษัทต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้เลยว่า เมื่อเราซื้อบ้านหรือปลูกบ้านใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้คนก็มักจะถามเราว่าทำบุญขึ้นบ้านใหม่หรือยัง แล้วจะทำเมื่อไร อย่างนี้เป็นต้น

อนึ่ง การได้ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือทำบุญเปิดสำนักงาน เป็นต้นนี้ ถือว่าได้นำสิริมงคลมาให้แก่ผู้กระทำและตัวบ้าน อาคาร สถานที่นั้น ๆ อย่างแท้จริง  มีพระมหาเถระรูปหนึ่งได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า การทำบุญบ้านนอกจากจะทำให้เราได้บุญได้กุศลมากแล้ว ยังถือเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีกับเจ้าที่เจ้าทางไปในตัวด้วย โดยเฉพาะพวกเทวดาที่สิงสถิตอยู่บนพื้นดินที่เรียกว่า ภุมเทวดา หรือพระภูมิเจ้าที่นั่นเอง เพราะในขณะที่เราทำบุญแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ญาติและเทวดาเหล่านั้นแล้ว พวกเทวดาที่ได้รับการบูชาก็จะกลับมามีกัลยาณจิตคิดป้องกันรักษา ช่วยให้เราได้แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป

เรื่องที่กล่าวมานี้ ไม่ได้กล่าวอย่างเหลวไหวหรือคลาดเคลื่อนเลื่อนลอยคล้อยตามชาวโลกแต่ประการใดเลย เพราะมีปรากฏเรื่องราวทำนองนี้อยู่ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ว่า มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ๒ ท่าน คือ สุนีธะมหาอำมาตย์ และวัสสการะมหาอำมาตย์  ได้สร้างพระนคร ที่ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี ท่านกล่าวว่าแคว้นวัชชีนี้เป็นแคว้นเล็ก ๆ แต่ว่ารบเก่งมาก ถ้าเปรียบก็คงคล้ายกับชาวบ้านบางระจันของไทยเราสมัยอยุธยากระมัง

ต่อมาได้ไปนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหาร เพื่อให้เกิดกุศลและปีติปราโมทย์ เมื่อพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ไปถึง เจ้าภาพคือท่านมหาอำมาตย์ทั้งสอง ก็ได้ประเคนอาหารคาวหวานอันประณีตด้วยมือของตนเอง เสร็จแล้วพระพุทธองค์ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่มหาอำมาตย์ทั้งสองด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า

คาถาอนุโมทนา

ยสฺมึปเทเสกปฺเปติ     วาสํปณฺฑิตชาติโย          

สีลวนฺเตตฺถโภเชตฺวา    สญฺเตพฺรหฺมจาริโน

ยาตตฺถเทวตาอาสุ    ตาสํทกฺขิณมาทิเส 

ตาปูชิตาปูชยนฺติ      มานิตามานยนฺตินํ 

ตโตนํอนุกมฺปนฺติ      มาตาปุตฺตํวโอรสํ 

เทวตานุกมฺปิโตโปโส    สทาภทฺรานิปสฺสตีติฯ 

คำแปล

บัณฑิตชาติอยู่ ในประเทศใด

เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล   ผู้สำรวม  ประพฤติพรหม-

จรรย์ในประเทศนั้น   และได้อุทิศทักษิณาแก่

เหล่าเทวดาผู้สถิตในสถานที่นั้น เทวดาเหล่า

อันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว      ย่อมบูชาตอบ

อันบัณฑิตชาตินับถือแล้ว      ย่อมนับถือตอบ

ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น      แต่นั้น  ย่อมอนุเคราะห์

บัณฑิตชาตินั้น      ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้

เกิดแต่อก      ฉะนั้น  คนที่เทวดาอนุเคราะห์

แล้ว  ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ

ด้วยเหตุนี้เอง เราท่านทั้งหลายที่ได้มีโอกาสทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือ ทำบุญเปิดห้างร้าน สำนักงาน บริษัทต่าง ๆ จึงถือว่าได้ประสบกับบุญอันยิ่งใหญ่ไพศาล จะได้พบเห็นแต่สิ่งที่ดีที่เจริญ เนื่องจากได้ทำทานคือการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระสงฆ์ ได้รับศีลรักษาศีล ได้กระทำจิตใจให้สงบในขณะฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ เรียกว่าได้เจริญภาวนา บุญทั้ง ๓ ประการที่กล่าวนี้จัดว่าเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ อันจะนำตัวเราให้เข้าถึงความสวัสดีในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ทำให้ชีวิตครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ปราศจากอุปัทวอันตรายและภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้น เมื่อทำบุญเสร็จแล้วนอกจากจะแผ่ส่วนบุญกุศลให้ญาติ และบรรพบุรุษของเราเป็นหลักแล้ว ก็อย่าลืมอุทิศส่วนกุศลเหล่านี้ไปให้กับเหล่าเทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ ด้วยก็แล้วกัน   

 

ทำบุญบ้าน/บริษัท/ร้านค้า ต้องดูฤกษ์ไหม ???

พระพุทธเจ้าท่านว่า....

วันสำหรับการทำสิ่งที่เป็นมงคลนั้นดีทุกวัน

เรื่องการดูฤกษ์ดูยาม พระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงสรรเสริญ ทั้งทรงตำหนิพระภิกษุที่ดูฤกษ์ ดูยาม และถือว่าผิดพระวินัยที่เป็นอาชีวปริสุทธิศีล หรือ มหาศีลด้วย   ใน สุปุพพัณหสูตร บทที่พระสวดตอนพรมน้ำมนต์ให้ในพิธีต่าง ๆ บทนั้นแหละ ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกเรื่องการดูฤกษ์ดูยาม แต่เราฟังไม่ออกเพราะเป็นภาษาบาลี โยมพนมมือรับน้ำมนต์กันแต้เชียว  ทีนี้เรามาดูคำแปลกัน

สุ แปลว่า ดี  ปุพพัณหะ แปลว่า ตอนเช้า ก่อนเที่ยง ส่วน  มัชฌันหะ แปลว่า กลางวัน สายัณหะ แปลว่า ตอนเย็น

สุปุพพันหะ แปลรวมว่า เวลาเช้าที่ดี หมายความรวมถึง เวลา หรือ ฤกษ์ ที่ดี

 พระพุทธเจ้าตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย 

สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น 

สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น

สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี

ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้กายกรรมของเขาก็เป็นสิทธิโชค  วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค  มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค  ความปรารถนาของเขาก็เป็นสิทธิโชค  สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นสิทธิโชคแล้ว  ย่อมได้ผลประโยชน์อันเป็นสิทธิโชค  ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข จงงอกงามในพระพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึงความสุข พร้อมด้วยญาติทั้งมวลฯ

ดังนั้นถ้าทำดีทั้งกาย วาจา และใจแล้ว นั้นแหละถือเป็นฤกษ์ดี  ฤกษ์นั้นอยู่ที่เรา เราเป็นผู้กำหนดฤกษ์ได้เอง อยากได้ฤกษ์ดีเมื่อไร ให้ทำดี ทั้งกาย วาจา ใจ

  • ถ้าคิดดีและมุ่งหมายที่จะทำเรื่องดี ๆ จะลงมือทำในวินาทีใด  วินาทีนั้นก็ถือว่าเป็นฤกษ์ดี 
  • ตรงกันข้าม  ถ้าคิดเรื่องร้าย ๆ มุ่งจะทำในเรื่องชั่วช้า ต่อให้เลือกเอาราชฤกษ์มาเป็นเกณฑ์ ก็ถือว่าฤกษ์นั้นไม่ดี ผลของการกระทำนั้นก็จะมีแต่เรื่องร้าย ๆ

จำไว้นะครับ ฤกษ์จะดีก็เพราะการทำลงมือแต่เรื่องดี ๆ เท่านั้น  หากจิตใจสะอาดและคิดแต่เรื่องดี ๆ จะทำอะไรในวันไหน วันนั้นก็คือวันที่ฤกษ์ดีสำหรับเขาครับ

ตัวอย่างภาพการจัดงานด้านพิธีสงฆ์

ภาพจัดงานที่บ้านคุณจอร์จ ที่หมู่บ้านมัณฑนา แจ้งวัฒนะ - ราชพฤกษ์


ขอบคุณทางปารมิตตาที่มาจัดงานทำบุญบ้านและจัดอาหารให้ครับ  งานเรียบร้อยดีมาก ๆ ครับ ผู้นำพิธีลำดับพิธีการดีมาก ๆ  อาการก็อร่อยครับ  ถ้ามีโอกาสครั้งหน้าได้ใช้บริการอีกครับ

จอร์จ/หมู่บ้านมัณฑนา

 

      

เป็นครั้งแรกที่คุณฝนมาจัดงานทำบุญเปิดบริษัทและจัดเลี้ยงอาหารให้ประทับใจมากค่ะเพราะทุกอย่างสะดวกเรียบร้อยไปหมด ทางเราไม่ต้องทำอะไรเลยงานเรียบร้อยสวยงามได้รับคำชมรวมทั้งอาหารที่มาจัดเลี้ยงพนักงานในออฟฟิตก้อสะอาดเรียบร้อยดีทุกอย่างอาหารอร่อยน่าทาน ขอบคุณคุณฝนและทีมงานมากนะคะมีโอกาสจัดเลี้ยงอีกคราวหน้าจะใช้บริการอีกแน่นอนค่ะขอบคุณมากค่ะ

รัตนศิริ วีระกุล
บ.โปรเตอุส เทคโนโลยี จำกัด

 

วันนี้ทางฝนได้มาจัดพิธีสงฆ์ เนื่องในโอกาศทำบุญประจำปีให้กับทางบริษัท Recruitement JAC จำกัด มีความสุขกันถ้วนหน้าครับ ต่างมีรอยยิ้มแย้มแจ่มใสกันหมด

ขอบคุณทางเจ้าภาพที่ให้ทางปารมิตตาไปจัดทั้งพิธีสงฆ์ และจัดเลี้ยงอาหารให้กับทางเจ้าภาพในครั้งนี้

Visitors: 280,383